เมื่อลูกน้อยติดของเล่นหรือของใช้ แก้ไขอย่างไรดี

เมื่อลูกน้อยติดของเล่นหรือของใช้ แก้ไขอย่างไรดี

พฤติกรรมการติดของใช้หรือติดของเล่นของลูก ถึงแม้จะช่วยทำให้คุณพ่อคุณแม่ว่างมากขึ้นเมื่อลูกน้อยเพลิดเพลินอยู่กับของเล่นที่อยู่ตรงหน้า แต่การติดของใช้หรือของเล่นของเด็กแต่ละคนแตกต่างกันเด็กบางคนอาจติดเปลนอน ติดห้องนอนของตนเองจนทำให้มีปัญหาการนอนเมื่อต้องเดินหรือมีความจำเป็นต้องไปค้างที่อื่น สิ่งเหล่านี้ควรแก้ไขอย่างไรดีเรามีคำแนะนำดีๆมาบอกค่ะ

     พฤติการณ์ติดของเล่นหรือของใช้เกิดจากอะไร

เด็กที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 6-12 เดือน เริ่มเคลื่อนไหวร่างกายได้ด้วยตนเอง เช่น เริ่มคลาน เริ่มนั่ง เกาะยืน และเริ่มหัดเดิน พฤติกรรมการติดของใช้เป็นพัฒนาการด้านอารมณ์ที่จะเกิดขึ้นในช่วงนี้ เพราะเด็กจะเริ่มเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเองการพึ่งพิงผู้ใหญ่น้อยลง ทำให้ลูกน้อยต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจ เช่นเด็กที่ติดห้องนอนเพราะเมื่อตื่นนอนแล้วจะเริ่มเล่นคนเดียวโดยไม่ร้องไห้งอแง ทำให้คุ้นเคยและชินอยู่กับบรรยากาศภายในห้องนอนของตนเอง

     ลักษณะการติดของเล่นและแนวทางแก้ไข

พฤติกรรมการติดของเล่นหรือของใช้ในเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกัน เช่น ติดผ้าอ้อม ติดหมอนข้าง ติดเบาะที่นอน ติดเปลนอน ติดตุ๊กตา ติดขวดนม หรือการติดจุกนมหลอกซึ่งเป็นปัญหาที่สร้างความวิตกกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่หลายคนและพยายามหาวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกน้อยแต่ไม่ได้ผล การทำให้ลูกน้อยเลิกติดของใช้หรือของเล่นที่ไม่ถูกวิธีอาจทำให้ลูกกลายเป็นเด็กเอาแต่ใจและใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องมีดังนี้

      1.กรณีลูกติดของใช้ เช่นติดจุกนม ขวดนมหรือหมอนข้างคุณพ่อคุณแม่ควรมีของใช้เหล่านี้มากกว่า 1-2 ชิ้นเพื่อให้ลูกใช้สลับกันทำให้รู้สึกคุ้นเคย และควรซื้อของใหม่มาทดแทนก่อนที่ของเก่าจะชำรุดเสียหาย

      2.เมื่อลูกมีพฤติกรรมติดของเล่นหรือของใช้  คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรบังคับให้เลิกหรือล้อเลียนเพื่อให้ลูกเลิกพฤติกรรมเหล่านั้น แต่ควรสอนให้ลูกจักการเก็บหรือทำความสะอาดสิ่งของเหล่านั้น สอนให้ลูกมีความรับผิดชอบและชี้แนะถึงผลดีผลเสีย ลูกจะค่อยๆปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการติดของเล่นได้ในที่สุด

พฤติกรรมการติดของเล่นไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย เพราะของเล่นหรือของใช้บางอย่างทำให้ลูกน้อยสนุกเพลิดเพลินจนไม่ร้องไห้งอแง ซึ่งช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ หรือพี่เลี้ยงได้มีเวลาพักผ่อน และหากคุณพ่อคุณแม่ มีความเข้าใจเมื่อลูกน้อยติดของเล่นหรือของใช้หากไม่หาแนวทางแก้ไข ลูกน้อยก็สามารถเลิกพฤติกรรมเหล่านี้ได้เองเมื่อเริ่มเข้าโรงเรียน


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์