เด็กอมมือ

เด็กอมมือ

ดั่งคำสุภาษิตที่ว่า “เด็กอมมือ”  หมายถึง คนที่ไม่รู้ประสีประสา ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร ไม่มีประสบการณ์ พฤติกรรมนี้ถ้าเป็นช่วงเด็กเบบี๋นับว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าติดมาจนโตเข้าสู่วัยก่อนวัยเรียนก็นับว่าเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ต้องแก้ไข

พฤติกรรม ‘การดูดนิ้ว อมมือ’ คือ พัฒนาการตามธรรมชาติในเรื่องของการสัมผัสอย่างหนึ่งของเด็กอายุขวบปีแรก หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นพัฒนาการการเริ่มต้นเป็นตัวของตัวเองอย่างหนึ่งของมนุษย์ ที่จริงแล้วเด็กจะดูดนิ้วหรืออมนิ้วมือตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่แล้ว สังเกตได้จากรอยแบนราบของริมฝีปากบนและล่างของทารกแรกคลอด และจะพบในเด็กผู้หญิงมากกว่าเด็กผู้ชาย เด็กเล็กมักจะดูดนิ้วมือเพื่อความพึงพอใจในตัวเอง ต้องการกล่อมตัวเองในขณะที่กำลังจะหลับ หรือเพราะขาดความมั่นใจ ขาดความอบอุ่นจากพ่อแม่ จึงหาทางออกด้วยการดูดนิ้วเพื่อปลดปล่อยความกลัวเหล่านั้น เรียกได้ว่าเป็นการระบายความเครียดเบื้องต้นของตัวเด็กเอง เมื่อมีพัฒนาการทางด้านร่างกายและอารมณ์มากขึ้น ก็สามารถหาทางออกเพื่อระบายความเครียดของตัวเองโดยวิธีอื่นแทนการดูดนิ้ว เช่น เด็กที่ดูดนิ้วเพราะความหิว เมื่อโตขึ้นก็สามารถบอกได้ว่าหิว หรือหยิบของกินเองได้ ฉะนั้น ถ้าคุณแม่ก็สามารถสังเกตได้ว่า ลูกดูดนิ้วเพราะความหิว ความเหนื่อยหรือความกลัว ควรรีบแก้ไขสถานการณ์นั้นๆ ไปค่ะโดยปกติเด็กที่ดูดนิ้วมือมักจะเลิกเองโดยธรรมชาติ โดยไม่มีระยะเวลากำหนดที่แน่นอน แต่โดยทั่วไปไม่น่าเกิน 4-5

 วิธีแก้ไขเมื่อลูกอมมือ

        การดูดนิ้ว  อมมือของเด็ก แม้จะเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของเด็กเอง แต่ถึงอย่างนั้นคุณแม่ก็ไม่ควรละเลยไปนะคะ คุณแม่ควรมีการปรับลดปัญหานี้ให้หมดไป

      ใช้ของเล่นที่ใช้มือเล่นเป็นหลัก เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจให้ลูกลืมการดูดนิ้วมือ

      คุณแม่ต้องหมั่นดึงนิ้วมือออกจากปากของลูก เวลาที่เห็นเขาเริ่มที่จะเอานิ้วเข้าปากอีก และให้เขาหันมาเล่นของเล่นอื่นแทน

     ไม่ควรใช้วิธีป้ายยาขมที่นิ้ว หรือติดพลาสเตอร์พันนิ้วมือลูก เพราะนั่นเหมือนเป็นการลงโทษ ปิดกั้นลูกไม่ให้ระบายออก อาจทำให้ลูกเกิดความเครียดขึ้นอีก จะทำให้เลิกดูดนิ้วยากขึ้น

      หากิจกรรมให้ลูกทำก่อนเข้านอน เช่น การเล่านิทาน การพูดคุยกันในระหว่างวัน ร้องเพลงกล่อม เพื่อให้ลูกหลับง่ายขึ้นโดยไม่ต้องดูดนิ้วเพื่อกล่อมตัวเอง

      ช่วงกลางวันให้ลูกได้มีกิจกรรมเคลื่อนไหว ออกกำลังกายตามสมควร ส่งผลให้หลับง่ายขึ้นในช่วงกลางคืน

อย่าใช้วิธีบังคับ ดุด่าหรือตีมือเพื่อให้เลิกดูดนิ้ว เพราะวิธีนี้นอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้วยังจะทำให้เกิดความกลัว ซึ่งความกลัว คือที่มาอย่างหนึ่งของการดูดนิ้ว
คุณแม่ควรชักชวนด้วยท่าทีที่เป็นมิตร ให้กำลังใจ หรือให้ของขวัญเวลาที่ลูกทำดีด้วยการไม่เอานิ้วเข้าปากค่ะ


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์