เด็กติดเปล

เด็กติดเปล

การนอนเปลนั้นเป็นการนอนที่จะทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีขึ้นเพราะว่าการแกว่งของเปลนั้นจะทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายและสบาย จนทำให้หลับได้รวมถึงการที่นอนเปลในแบบนี้นั้นจะช่วยในส่วนของเด็กที่ชอบงอแงในเวลากลางคืนที่ชอบร้องในตอนกลางคืนบ่อยจึงช่วยให้หลับสบายและไม่เกิดความเครียดและ พักผ่อนไม่เพียงพอตามมา นอกจากจะช่วยสุขภาพของลูกน้อยแล้วยังช่วยในส่วนของแม่

คุณพ่อคุณแม่ที่ให้ลูกนอนเปล แม้จะหลับได้นาน ทำให้ Growth hormone หลั่งออกมาได้ดี  แต่ก็มักจะมีปัญหาว่าลูกมีอาการ เด็กติดเปล แบบชนิดที่ว่า ขาดกันไม่ได้  ไม่สามารถนอนเองได้ ถ้าไม่ได้ลงเปล ไม่มีใครไกวเปล เรียกว่า ไปไหนก็ต้องหอบเปลไปด้วย  อาจสร้างภาระให้คุณพ่อคุณแม่เพิ่ม ในกรณีที่ต้องออกไปค้างนอกบ้าน

การฝึกให้เด็กเลิก ติดเปล เป็นเรื่องไม่ยาก  ทางที่ดีควรแก้ไขกันตั้งแต่เนิ่นๆ ค่ะ การนอนเปลเป็นการสร้างความสะดวกในช่วงระยะแรกเกิดเรื่อยไปจนถึงประมาณ 5-6 เดือน แต่เด็กบางคนนอนเปลจนเข้าโรงเรียนเลยก็มี  ดังนั้นเมื่อเด็กอายุได้ประมาณ 6 เดือน ควรสลับที่นอนบ้าง โดยการหาผ้าหนาๆ เบาะนอน หรือเป็นผ้านวมหนานุ่มก็ได้ค่ะ มีลวดลายการ์ตูนสีสดใสยิ่งดี ปูให้เด็กนอนและให้เด็กดูรูปบนที่นอนนั้น  อีกประการหนึ่ง เด็กที่ติดเปลนอน เพราะเคยชินกับการแกว่งเปลไปมา เพลินหรือมึนศีรษะจนหลับไป หากเปลี่ยนเป็นนอนกับพื้นนิ่งๆ ก็จะนอนไม่หลับ มีคุณแม่ท่านหนึ่งแก้ไขด้วยการนำที่นอนเล็กๆ ให้ลูกนอน และในขณะกินนมก็ดึงที่นอนนั้นไปมาช้าๆ ให้เคลื่อนไหวเหมือนกับการแกว่งเปล เด็กก็สามารถหลับได้อย่างไม่ยากเช่นกันค่ะ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่จะประยุกต์ใช้กับเด็กแต่ละคนด้วย

ถ้าเด็กได้ฟังเพลงกล่อมจะทำให้เขารู้สึกสงบ เพราะคลื่นเสียงของพ่อแม่ที่ส่งเสียงเห่นั้นเป็นเสียงกังวาน มีคลื่นเสียงในระดับต่ำทำให้สมองของเด็กได้ฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลาย คุณค่าที่เด็กได้รับจากเพลงเห่กล่อมจึงมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มารองรับและอธิบายมากมาย ที่สำคัญการเห่กล่อมคือการสร้างความผูกพัน การส่งเสียงให้ลูกได้ยิน และการที่ลูกตั้งใจฟังเสียงของพ่อแม่ เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ทำให้ลูกด้วยความรัก จะแสดงออกด้วยความตั้งใจ ความอ่อนโยน เพลงกล่อมเด็กจึงเป็นเครื่องมือที่ใช้ขัดเกลา กล่อมเกลาลูกของเรา และยังปลูกฝังสิ่งดีๆ ในตัวลูกได้ด้วย

การเห่กล่อม หรือต้องไกวเปลให้ลูกหลับ อาจทำให้ลูกติดเป็นนิสัย  คุณแม่ควรฝึกให้ลูกมีนิสัยการนอนที่ดี ให้ลูกหลับด้วยตัวเองตั้งแต่ 3-6 เดือน (โดยที่พ่อแม่ไม่ต้องช่วย) ทั้งช่วงเข้านอนตอนหัวค่ำ  หรือตื่นขึ้นมากลางดึก

  •     ลดความแรงในการไกว ลดเวลาที่ต้องไกวลงทีละน้อย ๆ จนถึงขั้นลดการเห่กล่อมด้วยเปล
  •     เมื่อเห็นว่าลูกเริ่มหลับ ก็ควรพาลูกไปนอนบนที่นอน และปล่อยให้หลับได้ด้วยตัวเอง

สิ่งสำคัญในการฝึก คือ ให้ลูกเข้านอนเป็นเวลา นอนในสถานที่ที่คุ้นเคย  ให้เวลาและโอกาสที่ลูกจะได้ฝึกฝนด้วยค่ะ

 


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์