หน้าฝนทำลูกเสี่ยง “โรคมือ เท้า ปาก” ป้องกันไว้ดีที่สุด!

หน้าฝนทำลูกเสี่ยง “โรคมือ เท้า ปาก” ป้องกันไว้ดีที่สุด!


เตือนกันทุกปี แต่ “โรคมือ เท้า ปาก” ในเด็กเล็ก ก็ยังเป็นโรคยอดนิยมในผู้ป่วยวัยกระเตาะ ยิ่งเข้าสู่ช่วงเปิดเทอมของโรงเรียนทั่วประเทศ ประกอบกับมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ความเสี่ยงของการเกิดโรคเลยยิ่งเพิ่มทวีคูณ ไม่อยากให้เจ้าตัวเล็กเจ็บป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยป้องกันค่ะ

หน้าฝนทำลูกเสี่ยง “โรคมือ เท้า ปาก” ป้องกันไว้ดีที่สุด!

ข้อมูลจาก นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) ระบุว่า…

สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 เมษายน 2560 พบผู้ป่วยแล้ว 17,117 ราย เสียชีวิต 1 ราย ส่วนในปี 2559 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยทั้งหมด 79,910 ราย เสียชีวิต 2 ราย

ซึ่งผู้ป่วยเกือบทั้งหมดเป็นเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มากถึง 70,874 ราย คิดเป็นร้อยละ 89 ของผู้ป่วยทั้งหมด นอกจากนี้ ยังพบว่าช่วงที่พบผู้ป่วยมากที่สุดของปีที่แล้ว คือ ช่วงเปิดเทอมจนถึงหน้าฝน (เดือน พ.ค.- ส.ค.) เพียง 4 เดือนมีผู้ป่วยมากถึง 50,156 ราย คิดเป็นร้อยละ 63 ของผู้ป่วยทั้งหมด

หน้าฝนทำลูกเสี่ยง “โรคมือ เท้า ปาก” ป้องกันไว้ดีที่สุด!

“โรคมือ เท้า ปาก”


ติดต่อจากการได้รับเชื้อทางปากโดยตรง ซึ่งเชื้อไวรัสจะติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย น้ำจากแผลตุ่มพองหรืออุจจาระของผู้ป่วย หรือติดต่อจากการไอ จาม รดกัน ซึ่งโรคนี้เกิดการแพร่กระจายเชื้อโรคสู่กันได้ง่าย โดยเฉพาะในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่ำ โรคนี้อาจมีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ ผื่น ตุ่มน้ำใส หรือเม็ดแดงๆ ในปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ก้น ซึ่งหายได้เองใน 7-10วัน แต่หากมีอาการแทรกซ้อน เด็กอาจมีอาการ เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียน หอบ บางรายอาจถึงขั้นกินอาหารและน้ำไม่ได้

หน้าฝนทำลูกเสี่ยง “โรคมือ เท้า ปาก” ป้องกันไว้ดีที่สุด!

การป้องกันโรคมือ เท้า ปาก

1.ดูแลรักษาสุขอนามัยของลูกให้สะอาดอยู่เสมอ สอนให้ลูกล้างมือบ่อยๆ หรือทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งสกปรก
2.หมั่นทำความสะอาดของเล่นและข้าวของเครื่องใช้ของลูกให้สะอาดเสมอ
3.หลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น และสอนให้ใช้ช้อนกลางเมื่อกินอาหารร่วมกับผู้อื่น
4.ไม่พาลูกไปในที่ชุมชนแออัด เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ เป็นต้น
5.หลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกเล่นหรือคลุกคลีกับเด็กที่ป่วยด้วยโรคมือเท้าปาก

ทั้งนี้ โรคมือ เท้า ปาก ไม่มียารักษา ไม่มีวัคซีน ฉะนั้น ถ้าหากเด็กมีอาการแทรกซ้อน เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียน หอบ ต้องรีบนำเด็กไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที

ที่มา healthandtrend

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์