ลูกไม่อยากกินผักผลไม้

ลูกไม่อยากกินผักผลไม้

ลูกของเเม่ ๆ ของไทยปัจจุบันส่วนใหญ่กินผักและผลไม้น้อยมาก  การทำให้เด็กชื่นชอบและมีนิสัยการรับประทานผักเป็นประจำถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของผู้ใหญ่ เพราะตามธรรมชาติแล้วเด็กย่อมสนใจอาหารรสชาติหวานมากกว่าผักซึ่งมักมีรสชาติขม ทั้งนี้เมื่อเด็กมีพฤติกรรมเลือกรับประทานอาหารโดยหลีกเลี่ยงผัก ส่งผลถึงพฤติกรรมการรับประทานในอนาคตของเด็กอีกด้วย 

สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและพฤติกรรมการบริโภคของเด็กมักถูกกำหนดโดยผู้ปกครอง หากเด็กได้รับการเลี้ยงดูในสิ่งแวด ล้อมที่ดี มีโอกาสได้รับประทานอาหารและผักหลายประเภทโดยไม่ได้ถูกบังคับขู่เข็ญ พ่อแม่ให้การสนับสนุนและให้กำลังใจ รวมทั้งสร้างระเบียบวินัยในการรับประทานให้ลูก นำไปสู่พฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมของเด็ก รวมทั้งการรับประทานผักด้วย ซึ่งโดยปกติแล้ว ปัญหาเด็กเลือกรับประทานอาหารมักหายไปเมื่อเด็กโตขึ้น

การปลูกฝังให้ลูกกินผักและผลไม้ หากไม่รีบวางพื้นฐานตั้งแต่เนิ่นๆ ในอนาคตอาจประสบปัญหาก็เป็นได้ เมื่อเจ้าตัวเล็ก ไม่ชอบกินผักและผลไม้ สิ่งเหล่านี้ ถ้าไปแก้ไขตอนโต อาจจะไม่ทันการ คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มให้ลูกทานได้ตั้งแต่ 5 เดือนขึ้นไป  ซึ่งคุณหมอหลายท่านก็แนะนำว่า เมนูแรกที่ให้ลูกน้อยได้ฝึกเคี้ยวควรเป็นอาหารเสริมที่มาจากธัญพืช (ผักและผลไม้) เพื่อฝึกให้คุ้นเคยกับรสชาติใหม่ๆ และเนื้ออาหารที่เปลี่ยนไปจากเดิม และให้รับรู้รสชาติต่างๆ ให้รู้จักเคี้ยวอาหารที่มีเนื้อหนาขึ้น   ควรเริ่มป้อนอาหาร (ภาชนะที่ใช้ควรเป็นช้อนพลาสติกที่สามารถดัดงอได้ เพราะเหงือกของเด็กยังบอบบางมาก) โดยเริ่มจากผลไม้ หรือซุปผักที่เจือจาง 2 – 3 ช้อนพูน (หรืออาจจะเริ่มที่ 1 -2 ช้อนชาก่อนก็ได้) แล้วค่อยๆ หัดให้ทานแต่ผลไม้หรือผัก ด้วยการเพิ่มปริมาณทีละเล็กละน้อยตามความเหมาะสมของวัยของเขา

เลือกผักให้เหมาะสมกับวัยลูก ผักต่างๆ ให้ทั้งวิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง นอกจากนี้ยังให้กากอาหาร หรือใยอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย ดังนั้น ควรสร้างความคุ้นเคยให้ทานผักหลากหลายชนิด ชนิดของผักควรเริ่มด้วยผักใบเขียว หรือผักนิ่มๆ เช่น ฟักทอง ตำลึง ผักกาดขาว ผักโขม ใบผักบุ้ง ซึ่งมีรสกลางๆ ไม่ขมและเฝื่อนจนทำให้ลูกน้อยรู้สึกเข็ดขยาดการทานผักตั้งแต่แรก  จากนั้นเมื่อเด็กอายุ 8 – 9 เดือน อาจเริ่มให้ทานผักที่กลิ่นฉุน มีรสขม เช่น ต้มหอม ผักชี เพราะเขายังไม่รู้จักเลือกกลิ่นและรส จึงสามารถรับได้ทุกอย่าง ส่วนผักจำพวก กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี ควรให้เมื่อเด็กอายุ 9 เดือน หรือ 1 ขวบขึ้นไป เนื่องจากผักประเภทนี้เมื่อกินแล้วอาจเกิดแก๊ส ทำให้ท้องอืดหรือเสียดท้องได้

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรับประทานของเด็กนั้นมีมากมายและหลากหลาย ตั้งแต่อิทธิพลของครอบครัว เพื่อน สังคม ไปจนถึงสื่อบันเทิง รวมทั้งอีกหนึ่งปัจจัยที่ขาดไปไม่ได้เลย ซึ่งก็คือ โรงเรียน” ด้วยเหตุนี้ครูจึงมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้สร้างทัศนคติที่ดีต่อการรับประทานผักและผลไม้ให้เกิดขึ้นแก่เด็ก เพื่อเปลี่ยนนักเรียนที่ไม่ชอบทานผักและผลไม้ให้กลายเป็นเด็กที่รักการรับประทานผักและผลไม้ ซึ่งนอกจากจะส่งผลให้เด็กมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงแล้ว  เด็กก็อาจมีส่วนในการชักชวนเพื่อนให้หันมารับประทานผักด้วยกันก็เป็นได้


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์