ทำไมเด็กอนุบาลเยอรมันต้องไปเรียนในป่า

ทำไมเด็กอนุบาลเยอรมันต้องไปเรียนในป่า

ในประเทศเยอรมัน มีโรงเรียนในป่า หรือที่เรียกว่า Waldkindergarten ซึ่งตอนนี้ได้แพร่หลายไปทั่วทวีปยุโรป และอีกหลายๆประเทศทั่วโลก

เด็กเยอรมันจะอยู่กับครอบครัวจนอายุ6ขวบ จึงจะเข้าเรียนตามหลักสูตร เพราะประเทศเยอรมันจะสนับสนุนให้เด็กอยู่กับครอบครัว และมีการให้เงินสวัสดิการกับมารดาของเด็กที่ไม่ได้ทำงานเพราะออกมาดูแลลูกด้วยในช่วงที่เด็กยังเล็ก แต่ถ้าเด็กมีความจำเป็นต้องไปเรียนก่อนหน้านั้น ด้วยความไม่สะดวกของครอบครัทางเลือกของคนเยอรมัน ก็คือ การเรียนในโรงเรียนอนุบาลในป่า Waldkindergarten เป็นลักษณะเนอร์สเซอรี่และโรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็กเล็ การเรียนนั้นจะไม่ใช่ลักษณะการเรียนบนโต๊ะในห้องเรียน แต่เป็นการไปเรียนรู้นอกสถานที่ ในป่า ในสวน ที่ๆมีต้นไม้เยอะๆ ไม่มีโต๊ะหรือเก้าอี้ เพราะต้องการให้เด็กฝึกการใช้ทักษะชีวิต จินตนาการ การอยู่ร่วมกันกับคนอื่น ซึ่งคนเยอรมันถือว่าทักษะชีวิตที่จำเป็นต่างๆนั้น ไม่สามารถเรียนรู้จากในห้องเรียนได้อย่างเดียว

ส่วนเด็กประถมมัธยมของเยอรมัน ก็เข้าเรียนแปดโมง บ่ายนิดๆก็กลับบ้านได้ เพราะไม่ได้เน้นเรื่องวิชาการจากห้องเรียน แต่ให้เด็กค้นคว้า และไปฝึกเอง และอยากให้ได้ใช้เวลากับครอบครัวมากๆ

ลองหันกลับมามองประเทศของเราบ้าง

หมอพบว่ามีหลายโรงเรียนในประเทศเราค่อนข้างเร่งเด็ก ทำให้เกิดความกดดัน ไม่แต่เฉพาะเด็ก แต่พ่อแม่ด้วย โรงเรียนเด็กเล็กของไทยหลายๆแห่งจะสอนให้เด็กอ่านหนังสือ เขียนหนังสือตั้งแต่เตรียมอนุบาลหรืออนุบาลหนึ่ง เพราะต้องทำสถิติส่งเด็กไปเรียนต่อโรงเรียนประถมดีๆ ไม่ว่าจะเป็น สาธิตฯ หรือโรงเรียนคริสต์เอกชนหลายๆแห่ง

อย่างที่หมอเคยเขียนเรื่อง การพัฒนาของสมองจะเริ่มจาก สิ่งที่เด็กทำได้ทั่วๆไป (การรับรู้ประสาทสัมผัสต่างๆ การได้ยิน มองเห็น ฯลฯ อารมณ์ความรู้สึก) ไปสู่สิ่งที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น (ความคิด การรับรู้ที่ซับซ้อน) ตามลำดับ อย่างการพัฒนาการของกล้ามเนือก็จะเริ่มจาก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ไปสู่กล้ามเนื้อมัดเล็ก ตามลำดับเช่นกัน ดังนั้นเด็กเล็กก็ควรให้ออกกำลังกาย มีกิจกรรม กระโดดโลดเต้น เล่นสนุกสนานฝึกให้เด็กช่วยเหลือตัวเองตามที่เขาทำได้อย่างเหมาะสม (ฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ก่อน)ไม่ใช่กราจับมือเด็กให้เขียนหนังสือ จะทำให้ขาดการฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ตามวัย ซึ่งหากไม่ได้รับการฝึก เด็กก็อาจจะโตไปเป็นเด็กที่กล้ามเนื้อมัดใหญ่ไม่แข็งแรง ทรงตัวไม่ค่อยดี เคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่ว ซุ่มซ่าม

การเปิดโอกาสได้เรียนรู้การเรียนรู้จากของจริง เช่น ให้เด็กได้เห็นต้นไม้ ดอกไม้ เด็กก็ได้รับรู้ด้วยการมองเห็น สัมผัส ได้กลิ่น จากของจริงที่มีอยู่ เด็กจะสนุกสนาน และได้พัฒนาประสาทสัมผัสการรับรู้ทุกๆด้าน

การพาเด็กไปสัมผัสธรรมชาติ เด็กจะได้เรียนรู้จากพัฒนาทักษะการช่วยเหลือตัวเอง การรับรู้และเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกผ่านการเล่น การออกกำลังกาย การมีปฏิสัมพันธ์กับคนและสิ่งมีชีวิตรอบข้างผ่านธรรมชาติ ซึ่งตรงนี้คงไม่เกิดขึ้นผ่านการจับมือเขียนหนังสือ แต่ความเป็นจริงในประเทศเรา หมอคิดว่าอาจจะยาก เพราะคำพูดของพ่อแม่ส่วนหนึ่งก็คือ

"ทำยังไงได้ล่ะหมอ น้องต้องเตรียมตัวไปสอบเข้าป.1 มันก็ต้องเริ่มตั้งแต่เนิ่นๆ จะให้ไปเรียนแบบฝรั่ง ญี่ปุ่น ก็สู้ชาวบ้านเค้าไม่ได้ ของเรามันต้องเรียนพิเศษ ติวกันตั้งแต่นั่งได้เลยนะคะหมอ"

กดดันแทนเด็กไทยและพ่อแม่จริงๆเลยค่ะ เอาเป็นว่าเป็นกำลังใจให้ สู้ๆค่ะ

#หมอมินบานเย็น

credit picture: www.spiegel.de

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์