ทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยชอบปาของ

ทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยชอบปาของ

     1. เมื่อลูกย่างเข้าปีที่สอง เป็นวัยพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง 

เริ่มอยากรู้อยากลอง เป็นไปตามสัญชาตญาณการเรียนรู้ในแบบของเด็ก 
จึงอาจเล่น หรือลองอะไร โดยที่ไม่ได้ตั้งใจที่จะให้เกิดความเสียหายตามมา

 

     2. การทดลองการเล่นบางอย่าง นอกจากจะสนุกที่ได้ “ทดลอง” อะไรใหม่ๆ เช่น ปาของ เพื่อดู ฟังเสียงการแตกกระจาย ยังเป็นการ “ทดสอบ” ปฏิกิริยาของพ่อแม่อีกด้วย ว่าพ่อแม่จะว่าอย่างไร

 

     3. ปฏิกิริยาของพ่อแม่ จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมลูกที่จะเกิดขึ้น เช่น

        - หากพ่อแม่หัวเราะชอบใจ เด็กจะเข้าใจว่าพ่อแม่ชอบรู้สึกสนุกไปด้วย อนุญาตให้เค้าทำแบบนี้ได้อีก

        - หากพ่อแม่โมโหเกรี้ยวกราดใส่ลูก ที่ทำของเสียหาย ลูกอาจจะตกใจกลัว ร้องไห้ ยิ่งทำให้พ่อแม่โมโหกว่าเดิม ในระยะยาวหากเกิดแบบเดิมซ้ำๆ อาจทำให้ลูกฝังใจกับภาพความน่ากลัวของพ่อแม่ บางคนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ขี้โมโห จากการมีพ่อแม่เป็นต้นแบบ

 

     4. วิธีการที่เหมาะสมที่พ่อแม่ควรทำ คือ

        - สื่อสารให้ชัดกับลูกว่าพฤติกรรมดังกล่าวไม่ควรทำ ทั้ง=ภาษากาย=คือ สีหน้า น้ำเสียง ท่าทีที่ดูหนักแน่น 

พร้อม=ภาษาพูด=ที่กระชับว่า “ลูกปาแก้วไม่ได้ครับ” และจับมือลูกไว้ไม่ให้ปา 
เด็กจะอ่านจากภาษากายเป็นหลัก ดังนั้น ถึงพ่อแม่จะบอกว่าปาของไม่ได้ แต่สีหน้าอมยิ้ม ลูกจะเข้าใจว่าพ่อแม่ชอบ

 

     5. อย่าลืมว่าวัยนี้เป็นวัยพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง ดังนั้นการไปห้ามปรามลูกบ่อยๆ จนไม่ได้ทำอะไรเลยอาจทำให้เด็กไม่เป็ตัวของตัวเอง รู้สึกสงสัยในตัวเองว่าคงเป็นคนไม่ได้เรื่อง โตขึ้นจะกลายเป็นคนขาดความมั่นใจในตนเอง ไม่กล้าคิด ทำอะไรใหม่ๆดังนั้น ควรสอนขอบเขตในสิ่งที่ลูกทำได้และไม่เป็นอันตราย โดยไม่ปิดกั้น เช่น 

        -ลูกเล่นเทน้ำราดบ้าน ต้องเตือนว่าเทในบ้านไม่ได้ (อาจมีเหตุผลประกอบสั้นๆ เช่น เดี๋ยวลื่นล้ม แล้วจะเจ็บ) ถ้าลูกอยากเทน้ำ ชวนไปเทที่สนามหญ้าแทน ถ้าลูกอยากขีดเขียน ให้ขีดบนผืนกระดาษใบใหญ่แทนการขีดบนผนังบ้าน

 

     6. ให้ลูกรับผิดชอบในผลที่เกิดจากการกระทำของตัวเอง เช่น 

        -ลูกปาของกระจัดกระจาย ชักชวนให้เด็กมาเก็บของให้เรียบร้อย หรือจูงมือ จับมือลูกเก็บของไปด้วยกัน ถึงลูกจะยังไม่เข้าใจเหตุผล แต่ทำให้ลูกเชื่อมโยงว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เค้าปาของ สุดท้ายเค้าก็ต้องเก็บเองไม่ใช่พ่อแม่ทำให้

 

     7. ของแตก เสียหายยังซ่อมแซม เปลี่ยนใหม่ได้ อย่าทำให้ลูกรู้สึกว่าคุณรัก "ของ" มากกว่ารัก "เขา" เช่น 

        -โมโหหัวฟัดหัวเหวี่ยงเมื่อลูกทำของพังโดยไม่ตั้งใจ ควรจะสอนเขาอย่างเป็นมิตรนั่นคือสิ่งที่ควรทำมากกว่า

‪#‎หมอไปป์_แฮปปี้คิดส์‬

credit ภาพ: http://learning-difficulties.blogspot.com/…/throwing-why-to…


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์