วิธีการเก็บนมแม่ ใส่ถุงเก็บน้ำนม หลังการให้นมแม่

วิธีการเก็บนมแม่ ใส่ถุงเก็บน้ำนม หลังการให้นมแม่


วิธีการเก็บนมแม่ ใส่ถุงเก็บน้ำนม หลังการให้นมแม่

หลังจาการให้นมแม่ การบีบน้ำนมไม่เพียงแต่ช่วยเก็บน้ำนมใส่ถุงเก็บน้ำนม ส่วนที่ดีไว้เท่านั้น แต่ยังทำให้มีอิสระในการให้ลูกกินนมในเวลาที่คุณสะดวกอีกด้วย ซึ่งการบีบน้ำนมนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากหากคุณแม่ฝึกบ่อยๆ

เหตุผลดีดี...ที่ควรบีบน้ำนมเก็บใส่ถุงเก็บน้ำนมไว้หลังการให้นมแม่แล้ว
เก็บใส่ถุงน้ำนม เมื่อลูกกินได้น้อย หรือคุณแม่ไม่อยู่กับลูกในเวลานั้น
เก็บใส่ถุงน้ำนม เมื่อให้ลูกทานอาหารเสริมตามวัย
เก็บใส่ถุงน้ำนม จะช่วยให้คุณแม่ได้พัก
คุณพ่อได้สร้างความผูกพันกับลูกจากการป้อนนมลูก

เทคนิคการบีบน้ำนมแม่ด้วยมือ

ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านมก่อนประมาณ 1-3 นาทีหรืออาบน้ำ หรือนวดเต้านมเพื่อลดอาการคัด ล้างมือและฆ่าเชื้อทำความสะอาดภาชนะที่จะเก็บน้ำนมก่อนเริ่มบีบน้ำนม

วิธีการบีบน้ำนม

ประคองเต้านมด้วยมือข้างหนึ่ง แล้วนวดคลึงไล่ตั้งแต่ส่วนบนลงมา และคลึงรอบเต้านมรวมทั้งส่วนล่างด้วย

ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กดบนบริเวณรอบลานหัวนม (บริเวณที่เป็นสีเข้มรอบหัวนม) เบาๆ
บีบพร้อมกันแล้วกดเข้าหาตัวเพื่อให้นมไหลออก ควรระวังน้ำนมพุ่งกระจายออกมา
การบีบน้ำนมด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้า และการเก็บใส่ถุงน้ำนม

หลังจากการให้นมแม่ ใช้น้ำอุ่นประคบที่เต้านมหรือนวดก่อนเพื่อลดอาการคัด ใช้เครื่องปั๊มนมที่สะอาดปราศจากเชื้อ โดยใช้เวลาประมาณ 15 - 45 นาทีในการบีบนมด้วยเครื่องและคุณไม่ควรรู้สึกเจ็บที่เต้านมในขณะปั๊ม แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับเครื่องปั๊มที่คุณใช้ด้วย

น้ำนมที่บีบออก...เก็บอย่างไร?

แม่สามารถเก็บนมใส่เก็บใส่ถุงน้ำนม ไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา หรือ ช่องแช่แข็ง โดยเขียนวันที่ เวลา ที่บีบน้ำนมเก็บไว้ด้วย ควรทิ้งน้ำนมที่นำมาอุ่นให้ร้อนแล้วแต่ไม่ได้ใช้หรือใช้ไม่หมด

อายุการเก็บน้ำนมโดยประมาณ:

บริเวณที่เก็บน้ำนมในตู้เย็น อายุน้ำนมแม่ การให้นมแม่

เก็บนมแม่ใส่ถุงน้ำนม ในอุณหภูมิห้อง (อุณหภูมิ>25 องศาเซลเซียส) เก็บได้ ประมาณ 1 ชั่วโมง
เก็บนมแม่ใส่ถุงน้ำนม ในอุณหภูมิห้อง (อุณหภูมิ<25 องศาเซลเซียส) เก็บได้ ประมาณ 4 ชั่วโมง
เก็บนมแม่ใส่ถุงน้ำนมในกระติกน้ำแข็ง (ที่มีน้ำแข็งตลอดเวลา < 15 องศาเซลเซียส) เก็บได้ประมาณ 1 วัน
เก็บนมแม่ในตู้เย็นช่องธรรมดาชั้นบนสุด (อุณหภูมิประมาณ 4 องศาเซลซียส ) เก็บได้ประมาณ 1-3 วัน
เก็บนมแม่ในตู้เย็นช่องแช่แข็ง (แบบประตูเดียว ) เก็บได้นานประมาณ 2 สัปดาห์
เก็บนมแม่ในตู้เย็นช่องแช่แข็ง (แบบ 2 ประตู) เก็บได้นานประมาณ 3 เดือน
เก็บนมแม่ในตู้เย็นชนิดเย็นจัด (อุณหภูมิ -19 องศาเซลเซียส) เก็บได้นานประมาณ 6-12 เดือน
อุณหภูมิเป็นตัวกำหนดอายุของน้ำนม จึงไม่ควรเก็บน้ำนมไว้ที่ประตูตู้เย็นเพราะมีอุณหภูมิ ไม่คงที่ และถ้าในตู้เย็นมีของอื่นแช่เป็นจำนวนมาก หรือเปิดปิดตู้เย็นบ่อยๆ อายุของน้ำนมก็จะสั้นลง

น้ำนมในถุงน้ำนม หลังจากนำออกจากช่องแช่แข็ง ให้ละลายที่ช่องธรรมดา ถ้ายังไม่ได้นำออกมาอุ่น จะเก็บได้ต่อในตู้เย็นช่องธรรมดา 1 วัน และไม่ควรนำกลับไปแช่แข็งอีก

ส่วนน้ำนมที่นำออกมาทำละลาย หรืออุ่นแล้วนอกตู้เย็น อายุนมจะสั้นลงเหลือแค่มื้อเดียว หากลูกกินแล้วเหลือ ต้องเททิ้ง ไม่เก็บให้ลูกทานอีก เพราะลูกอาจจะท้องเสียได้

วิธีการทำละลายหรืออุ่นนมสต็อก มีเทคนิคดังนี้

ถ้าเป็นนมที่ช่องใต้ช่องแข็ง ให้ใช้นมใหม่ก่อน
ถ้าเป็นนมในช่องแช่แข็ง ให้ใช้นมเก่าก่อน โดยย้ายถุงน้ำนมลงมาไว้ชั้นล่างก่อนล่วงหน้า 1 วัน เพื่อให้น้ำนมละลาย

จากนั้นนำถุงน้ำนมออกมาวางนอกตู้เย็น ทิ้งให้หายเย็น หากรีบ ให้แช่ในภาชนะใส่น้ำอุ่น เพื่อให้หายเย็น ห้ามใช้น้ำร้อน เครื่องอุ่นนม หรือไมโครเวฟ เพราะความร้อนจะทำลายสารอาหารที่มีประโยชน์ในน้ำนมไป

หากน้ำนมแยกชั้นในถุงใส่นม ไม่ต้องตกใจ เนื่องจากในนมมีไขมัน ซึ่งไขมันจะลอยตัวอยู่ด้านบนเพียงแต่เขย่าให้เข้ากันก่อน ก็ใช้ได้แล้ว

Cr::: hifamilyclub.com

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์