จะรู้ได้อย่างไรว่าทารกกินนมอิ่มแล้ว ป้องกัน Overfeeding

จะรู้ได้อย่างไรว่าทารกกินนมอิ่มแล้ว ป้องกัน Overfeeding


จะรู้ได้อย่างไรว่าทารกกินนมอิ่มแล้ว

เพราะเด็กในวัยแรกเกิดนั้น ยังไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้ และด้วยความที่คุณแม่มักจะกลัวว่าลูกจะกินนมไม่อิ่ม กลัวว่าลูกจะโตช้าถ้าหากกินนมน้อย จึงพยายามให้ลูกกินนมเยอะ ๆ จนกลายเป็นว่ากินนมเยอะเกินไป กินนมจนล้นกระเพาะ หรือที่เราเรียกกันว่า Overfeeding ได้ แต่เรา จะรู้ได้อย่างไรว่าทารกกินนมอิ่มแล้ว ในเมื่อเด็กในวัยนี้ยังสื่อสารไม่ได้ ซึ่งวิธีการสังเกตว่าลูกอิ่มนมแม่อิ่มแล้วนั้น

สามารถทำได้ดังต่อไปนี้

  • ถ้าลูกหลับขณะกินนมและคายหัวนมออกเอง แสดงว่าลูกกินอิ่ม
  • แต่ถ้าลูกยังไม่คาย เพียงแต่อมหัวนมไว้ หรือดูดแค่เบา ๆ คุณแม่ควรกระตุ้นให้ลูกดูดต่อ
  • ลูกมีท่าทางพอใจหลังจากเวลาที่ใกล้จะเลิกให้นมในมื้อนั้น
  • ถ้าลูกกินนมเพียงพอ ลูกจะนอนหลับได้ดี ไม่งอแง และตื่นขึ้นมากินนมทุก 2-3 ชั่วโมง เว้นช่วงสัปดาห์แรก ๆ
  • ลูกปัสสาวะสีเหลืองอ่อนใส ชุ่มผ้าอ้อมประมาณวันละ 6-8 ครั้ง
  • สังเกตจากการถ่ายอุจจาระในสัปดาห์แรก โดยทารกควรจะถ่ายอย่างน้อย 2 ครั้ง ต่อวัน
  • น้ำหนักลูกขึ้นตามเกณฑ์ปกติ ไม่มาก หรือน้อยเกินไป
น้ำหนักของทารกปกติในแต่ละเดือนควรเพิ่มขึ้นเท่าไหร่
น้ำหนักของทารกปกติในแต่ละเดือนควรเพิ่มขึ้น ดังนี้

 

  • 0-3 เดือน  น้ำหนักลูกควรเพิ่มขึ้น 600-900 กรัม/เดือน
  • 4-6 เดือน น้ำหนักลูกควรเพิ่มขึ้น 450-600 กรัม/เดือน
  • 7-12 เดือน น้ำหนักลูกควรเพิ่มขึ้น 300 กรัม/เดือน
หากลูกน้อยมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมามากกว่า 35 กรัมต่อวัน หรือ เกิน 1 กก./เดือน แสดงว่าเป็นอาการ Overfeeding ซึ่งลูกน้อยจะรู้สึกอึดอัด ปวดท้อง โยเย ร้องไห้กวน แต่ที่ลูกร้องนั้น ไม่ใช่เพราะหิว และหากคุณแม่ยังให้ลูกกินนมอีก เพราะอาจจะคิดว่าที่ลูกร้องไห้เพราะอยากกินนม ก็จะทำให้ลูกอาเจียนออกมา เพราะว่าน้ำนมล้นกระเพาะนั่นเอง

จะรู้ได้อย่างไรว่าทารกกินนมอิ่มแล้ว ป้องกัน Overfeeding

Overfeeding มีอาการอย่างไร
Overfeeding หรืออาการที่ลูกกินนมเยอะเกินไป หรือกินจนล้นกระเพาะ จนแสดงอาการดังต่อไปนี้

  • นอนร้องเสียง แอะ ๆ แอะ ๆ คล้ายเสียงของแพะ หรือแกะ
  • บิดตัวเยอะ
  • มีเสียงครืดคราดในคอ คล้ายมีเสมหะอยู่ในคอ แต่เป็นเสียงของนมที่ล้นขึ้นมาที่คอหอยแล้ว
  • แหวะนม อาเจียนบ่อย ออกมาทางปากหรือจมูก
  • พุงกางเป็นทรงน้ำเต้าตลอดเวลา
  • มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมากเกินไป
Overfeedingอันตรายอย่างไรหากลูกกินนมแม่ อาการ

 Overfeeding นั้น จะทำให้ลูกรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว นอกจากนี้หากลูกอาเจียนบ่อย ๆ กรดจากกระเพาะอาหารจะย้อนออกมา ทำให้หลอดอาหารเป็นแผลได้

หากลูกกินนมผง นอกจากลูกจะอึดอัด ไม่สบายตัว และอาเจียนบ่อย จากการถูก Overfeeding ยังจะทำให้ลูกมีพฤติกรรมกินจุ และนำไปสู่โรคอ้วนได้ในอนาคตได้

แล้วถ้าลูกกินนมไม่พอล่ะ จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกยังไม่อิ่ม

สัญญาณบ่งบอกว่าลูกอาจต้องการนมเพิ่ม หรือไม่ได้รับน้ำนมเพียงพอ คุณแม่สังเกตได้จากสัญญาณอาการต่อไปนี้

  • ลูกดูไม่กระปรี้กระเปร่า ไม่ร่าเริง และร้องกวนตลอดเวลา
  • หงุดหงิดหลังจากกินนมแล้ว ท่าทางของลูกดูเหมือนจะไม่พอใจ
  • ตอนที่ลูกกินนม หากลูกดูดเสียงดังจ๊วบ ๆ หรือคุณแม่ไม่ได้ยินเสียงกลืน อาจเป็นเพราะว่าลูกดูดนมไม่ถูกวิธี
  • ผิวของลูกมีสีเหลืองขึ้น
  • ผิวลูกยังดูย่นอยู่ หลังจากผ่านไปหนึ่งสัปดาห์
  • หากคุณแม่กังวลว่าลูกน้อยไม่ได้รับน้ำนมเพียงพอ ลองให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้น และควรอุ้มลูกไว้แนบตัว ถ้าลูกยังอยากกินนมอีก เขาจะหันหน้าเข้าหาเต้านมเอง
บางครั้งคุณแม่อาจพบว่าลูกยังหงุดหงิด งอแง เหมือนยังไม่อิ่มนม แม้จะลองให้นมถี่ขึ้นแล้ว ในกรณีนี้ คุณแม่ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อสอบถามถึงสาเหตุที่ลูกไม่อิ่มนมหรือการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป

เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์