การป้องกันและลดความเสี่ยงโรคติดเชื้อในเด็


 การป้องกันและลดความเสี่ยงโรคติดเชื้อในเด็


การที่เด็กป่วยได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่นั้น เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันเป็นหลัก เนื่องจากผู้ใหญ่จะมีภูมิคุ้มกันที่พัฒนาเต็มที่แล้ว แต่ในเด็กยังมีไม่ดีหรือไม่มากเท่า ทำให้เด็กเกิดการเจ็บป่วยหรือติดเชื้อได้ง่ายกว่า อีกทั้งระบบทางเดินหายใจในเด็กก็ยังตีบแคบกว่าในผู้ใหญ่ หากต้องป่วยจากการติดเชื้อบริเวณทางเดินหายใจ การมีเสมหะก็จะทำให้มีการอุดตันหรือกั้นทางเดินหายใจได้มากกว่า จึงทำให้เด็กมักป่วยนานกว่า

การป้องกันและลดความเสี่ยงการติดเชื้อในเด็ก ทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีคนพลุกพล่าน หรือการเข้าใกล้ผู้ป่วย ล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัย (Mask) เป็นประจำ และที่สำคัญ คือ ควรฉีดวัคซีนให้ครบและตรงกำหนดตามช่วงวัย รวมถึงการให้ลูกน้อยได้ดื่มนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนแรก และดื่มให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรักได้อย่างเต็มที่ เด็กจะได้เติบโตอย่างมีสุขภาพที่แข็งแรง

ส่งเสริมให้ลูกดื่มนมแม่ เพิ่มภูมิต้านทาน ลดโอกาสเสี่ยงโรคและการติดเชื้อ

นมแม่ นับเป็นอาหารที่ดีที่สุดในการช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อย เพราะนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารครบถ้วน มีประโยชน์ทั้งในด้านการสร้างเสริมพัฒนาการและการเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆ ตัวอย่างเช่น

มีสารที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคบนผิวหนัง (Microbial colonization)

มีโพรไบโอติคส์ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรียตัวดีที่ช่วยย่อยอาหารในลำไส้

มีสารนิวคลีโอไทด์ ช่วยให้เยื่อบุลำไส้ของทารกเจริญเติบโตเร็ว พร้อมรับการสัมผัสกับเชื้อประจำถิ่นได้

สารเซอร์เคทเทอรี่ ไอจีเอ จากลานนมของแม่ ซึ่งเป็นสารภูมิคุ้มกันที่มีมากที่สุดในนมแม่จะไปดักจับเชื้อโรคบนเยื่อบุผิวลำไส้ และเยื่อบุผิวบนอวัยวะอื่นๆ ให้ลูกน้อย

มี T-lymphocyte ทำหน้าที่จับกินเชื้อโรคที่มาเกาะเยื่อบุผิว ช่วยลดอัตราตายของทารกและเด็ก โดยเฉพาะจากโรคติดเชื้อทางระบบหายใจ และโรคอุจจาระร่วง

การดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียวตลอด 3 เดือนแรกของทารก ช่วยลดการเกิดโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ผิวหนัง และการเป็นเบาหวานในอนาคตได้

มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสายโมเลกุลยาว ช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อประสาทและจอประสาทตาเมื่ออายุ 6 เดือน

โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้กินน้ำนมแม่อย่างเดียวจนถึงอายุ 6 เดือน หลังจากนั้นสามารถกินน้ำนมแม่ต่อเนื่องได้ถึง 2 ปี หรือจนกว่าลูกจะเลิกกินนมแม่ไปเอง โดยควบคู่กับการกินอาหารให้ครบ 3 มื้ออย่างเหมาะสม เพื่อลูกจะได้รับสารอาหารที่สำคัญสำหรับร่างกาย สมอง และการพัฒนาในด้านต่างๆ

เครดิตแหล่งข้อมูล : paolohospital


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์