เรื่องใกล้ตัว .. อันตรายนะคุณแม่หากลูกติดหวาน

เรื่องใกล้ตัว .. อันตรายนะคุณแม่หากลูกติดหวาน


 
   ทารกแรกเกิดทุกคน แน่นอนว่ายังไม่รู้จักรสชาติใดดีไปกว่ารสชาติของน้ำนมแม่ ดังนั้น ข้อมูลทางโภชนาการจึงมีการรณรงค์ให้ลูกกินนมแม่ และเริ่มอาหารเสริมเมื่ออายุ 6 เดือน โดยเน้นให้ลูกได้ทานรสชาติที่ไม่มีการปรุงแต่งรสชาติใด ๆ ทั้งสิ้น เพื่อป้องกันการติดรสหวานหรือติดอาหารที่มีรสชาติทำให้กลายเป็นเด็กเลือกกิน ส่งผลทำให้กินยาก และอาจต่อเนื่องไปจนถึงขาดสารอาหารได้

คุณพ่อคุณแม่คงได้ยินชื่อโครงการเครือข่ายเด็กไทยไม่ติดหวานกันมาบ้างแล้ว ที่มาของโครงการนี้เกิดจากกลุ่มกุมารแพทย์และนักวิจัยโภชนาการไทย ได้พบว่า

1.เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมามีเด็กไทยอ้วนเพิ่มมากขึ้นถึงเท่าตัว เมื่อสำรวจผู้ใหญ่ยิ่งแล้วใหญ่เพราะอ้วนมากขึ้นถึง 40%

2.อัตราฟันผุของเด็กไทยพบว่าเมื่ออายุ 3 ขวบเด็กจะมีฟันผุประมาณ 60% และเมื่อครบ 6 ขวบมีประมาณ 70-80%

3.สาเหตุพบว่าคนไทยกินหวานกันมากขึ้นอย่างมากมายนั่นเอง

สาเหตุที่ทำให้เด็กติดรสหวาน
เด็ก ๆ ติดรสหวานได้ง่าย ส่วนหนึ่งมาจากกลไกของร่างกาย เนื่องจากต่อมรับรสหวาน เด็กพัฒนาได้เร็วและดีกว่ารสอื่น ที่สำคัญเมื่อกินน้ำตาลเข้าไปกระแสเลือดจะทำให้สมองหลั่งเอนโดฟินออกมาจึงทำให้มีความสุขสดชื่น สาเหตุนี้เองทำให้เด็ก ๆ ยิ้มรับทันทีหากได้ทานขนมหวาน ๆ ที่สำคัญหากลูกได้ลิ้มรสหวานเร็วเพียงใด เมื่อโตขึ้นลูกจะยิ่งต้องการเพิ่มปริมาณความหวานของอาหาร ขนมที่รับประทานมากขึ้นอีก เพราะลูกเคยชินกับรสชาติหวานแล้วนั่นเอง

ช่วงอายุของลูก กับโอกาสติดรสชาติหวาน

ลูกอายุ 0-1 ปี โอกาสติดรสหวาน
สาเหตุที่เด็กวัยนี้ติดหวานเนื่องจากเด็กทารก 50% ไม่ได้กินนมแม่เด็กจึงต้องกินนมผงดัดแปลงถึงแม้ว่ามีการกำหนดมาตรการ 6 เดือนแรกห้ามเติมน้ำตาลในนมผง แต่ก็สามารถเติมได้ในนมเด็กที่อายุ 6 เดือนขึ้นไปในระดับที่กระทรวงสาธารณสุขควบคุมอยู่ แต่เมื่อเด็กเริ่มรสหวานตั้งแต่ 6 เดือนถือว่าเป็นการเริ่มที่ค่อนข้างเร็วมาก ดังนั้นพ่อแม่ควรเลือกนมที่ไม่มีน้ำตาลให้ลูกดีกว่า

ลูกอายุ 1 ปีขึ้นไป โอกาสติดรสหวาน

เมื่อลูกติดรสหวานแล้วอาหารที่ตามมาส่วนใหญ่มักจะเป็นน้ำอัดลม ขนม และเด็กจำนวนไม่น้อยที่กิจกรรมระหว่างวันหมดไปกับการดูทีวี กินไปอยู่หน้าทีวีไป ทำให้เพลิดเพลินเจริญอาหารและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มปริมาณไปเรื่อยๆ เมื่อโตขึ้นขนมหวานส่วนใหญ่มักเข้าสู่วงจรชีวิตประจำวันโดยอัตโนมัติและจะมากขึ้นเมื่อขนมชิ้นนั้นมีของแถม ให้ชวนซื้อ

ลูกอายุ 3 ปีขึ้นไป โอกาสติดรสหวาน

นอกจากของเล่นที่แถมมาจากขนมเป็นเหตุปัจจัยสำคัญแล้ว ผู้ใหญ่อย่างเราก็เป็นตัวการเหมือนกัน เมื่อผู้ใหญ่เปิดตู้เย็นดื่มน้ำอัดลมที่มีอยู่เต็มตู้จึงไม่แปลกใจเลยที่เจ้าตัวเล็กจะเลียนแบบตาม รวมทั้งโฆษณาชวนเชื่อก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญด้วย

อันตรายเคลือบความหวานสำหรับเด็ก

-ในแต่ละช่วงวัยของลูก สังเกตได้ว่า อาการติดรสหวานของเด็กเกิดจากการที่พ่อแม่หรือผู้ใหญ่หยิบยื่นให้ ยิ่งให้ลูกทานของหวาน ๆ เร็วเท่าใด โอกาสของการติดรสหวานจะตามมาเร็วเท่านั้น ความหวานนอกจากจะทำให้เกิดฟันผุแล้วยังเกิดโรคอ้วน เบาหวาน ความดันสูง และอาการที่รุนแรงที่สุดคือไตวาย

-น้ำตาลไม่ให้คุณค่าอะไรนอกจากให้พลังงานเพียงอย่างเดียว หากมีมากเกินไปร่างกายจะทำการขับออก มิฉะนั้นอาจจะเป็นเบาหวานได้ ยิ่งในปัจจุบันนี้พบผู้ป่วยเป็นเบาหวานตั้งแต่ยังเด็กมีมากขึ้น แถมท้ายด้วยเด็กที่ติดหวาน เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่มีแนวโน้มจะชอบอาหารที่มีไขมันด้วย

-ความหวานทำให้ฟันน้ำนมผุก่อนวัยและจะผุเร็วมาก ที่สำคัญเชื้อฟันผุที่เกิดจากอาหารหวานจะลามไปเรื่อยๆ จนถึงฟันแท้เนื่องจากเชื้อเหล่านี้สามารถติดต่อกันได้ เมื่อกินหวานมากฟันผุ เด็กก็จะปวดฟัน เหงือกอักเสบ ไม่อยากเคี้ยวของแข็ง อยากกินแต่อาหารนิ่มๆ เช่น แป้ง ไขมัน หรืออาหารเหลว ไม่ยอมกินผักผลไม้ ทำให้ฟันยิ่งผุเข้าไปใหญ่แถมได้อาหารไม่ครบหมู่และไม่สบายบ่อยอีกด้วย

ป้องกันอย่างไรไม่ให้ลูกติดรสหวาน

1.หลีกเลี่ยงนมผงดัดแปลงที่ผสมน้ำตาล หากดื่มนมกล่องควรให้ดื่มนมรสจืดที่เป็นนมโคแท้ 100 %

2.ให้ลูกรับประทานอาหารที่หลากหลายรสชาติ ควรให้ลูกทานผลไม้ที่มีรสหวานตามธรรมชาติ

3.อย่ายัดเยียดอาหารให้ลูก เช่น เห็นลูกกินนมหวานได้ดีก็ให้ลูกกินแต่นมหวานหรือบังคับให้ลูกกินบ่อยๆ

4.การปรุงรสอาหาร เช่น ก๋วยเตี๋ยว หากไม่จำเป็นไม่ควรใส่น้ำตาลเพราะตามปกติแล้วคนขายอาหารมักจะเติมน้ำตาลลงในน้ำซุปแล้ว นอกจากนี้เน้นให้ลูกดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำอัดลม

5.รักษาความสะอาดของฟันไว้ให้ดีเพื่อเอาไว้กินอาหารที่มีประโยชน์อย่างผักผลไม้ เพื่อรักษาฟันน้ำนมไม่ให้หลุดก่อนกำหนด ฟันแท้ที่ตามมาจะขึ้นได้รูปสวยงาม

เมื่อได้ทราบถึงพิษภัยที่มาในรูปของรสหวานแล้ว ต้องรีบป้องกันแต่เนิ่นๆ นะคะ เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพลูกน้อยของเราค่ะ

เครดิตแหล่งข้อมูล : maerakluke

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
รวมข่าวในกระแส คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์