11 สัญญาณที่พ่อแม่ต้องรู้ว่าทารกกำลังสื่อสารอะไร

11 สัญญาณที่พ่อแม่ต้องรู้ว่าทารกกำลังสื่อสารอะไร

สิ่งที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ท้อแท้มากที่สุดในการเลี้ยงลูก คือ การไม่รู้ว่าลูกน้อยต้องการอะไร การที่ลูกร้องสะอึกสะอื้นนั้นแปลว่าปัสสาวะเต็มผ้าอ้อมหรือเปล่า? หรือเพราะลูกหิวกันแน่? หรือถ้าลูกร้องไห้ดังๆ ล่ะ แล้วการที่ลูกเอามือถูหูอยู่บ่อยๆ แปลว่าอะไรนะ?

เด็กทารกนั้นสื่อสารก่อนที่จะพูดคำแรกเป็นซะด้วยซ้ำ เด็กอ่อนนั้นเกิดมาพร้อมกับพรสวรรค์ที่สามารถแสดงออกได้หลายความต้องการ ทั้งทุกข์และสุข ถ้าเรารู้จักอ่านสัญญาณที่เด็กทารกสื่อสารออกมาและตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้เร็ว เด็กๆ ก็จะรู้สึกปลอดภัย และความสัมพันธ์ระหว่างเรากับลูกน้อยก็จะแข็งแรงมากขึ้น จริงอยู่ที่การพูดมันง่ายกว่าการที่จะทำได้จริง ไม่ใช่เด็กทารกทุกคนจะสื่อสารออกมาในรูปแบบเดียวกัน บางครั้งนั่นหมายถึงการใช้เวลาหลายเดือนกว่าคุณจะเข้าใจลูกของคุณ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีหลักการทั่วไปบางอย่างที่คุณสามารถนำไปใช้ได้

การที่ลูกน้อยทำหน้าผากย่น ขมวดคิ้ว การแสดงออกเหล่านี้สามารถมองข้ามได้ง่ายๆ การทำหน้าตาแบบนี้เมื่อเทียบกับการร้องไห้อาจจะมองออกยากกว่า แนะนำให้ดูลูกน้อยอย่างใกล้ชิด แล้วคุณจะได้เห็นการแสดงออกที่ใกล้เคียงอีก อย่างเช่น
ลูกน้อยที่หันหน้าหลบจากคุณนั้นต้องการที่จะหลบสายตา คุณหมอ Acredolo กล่าวไว้ว่า เด็กอายุประมาณสองเดือนเป็นต้นไป จะทำตัวออกห่างเมื่อพวกเขารู้สึกกดดันมากไป หรือ อยู่ในภาวะอึดอัด บางครั้งพวกเขาอาจจะหันหน้าไปข้างๆ แบบดื้อๆ หรือเล่นกับนิ้วมือนิ้วเท้า หรือบางทีอาจจะร้องไห้เลยด้วย เพื่อที่จะพาตัวของพวกเขาให้หลุดออกมาจากการเชื่อมต่อกับผู้ใหญ่ 

สิ่งที่ควรทำ คุณพ่อคุณแม่มือใหม่มักจะกระตือรือร้นเกินไปเวลาเล่นกับเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่เหล่านี้พยายามที่จะสบตากับลูกน้อยถึงแม้ว่าลูกจะหันหน้าหนีก็ตาม พวกเขาก็จะตามไปพูดคุย หรือ แหย่ลูกของเขาเล่น เพื่อที่จะให้ลูกกลับมาสนใจพวกเขาอีกครั้ง สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรจะทำคือ เคารพในช่วงเวลานั้นของลูกๆ รออย่างใจเย็นและเงียบ จนกว่าพวกเขาจะกลับมาหาคุณเอง หลังจากนั้นจงยิ้มให้ลูกของพวกคุณและเล่นกับพวกเขาอีกครั้ง
การยิ้มที่แท้จริง ปกติจะเกิดขึ้นในช่วงเวลา 6-8 อาทิตย์ ในช่วงเวลานี้ การยิ้มมักเป็นอาการที่เกิดจากความสุขทางร่างกาย อย่างลูกของหมอ Acredolo นั้น ยิ้มครั้งแรกเมื่อเธอรู้สึกสบายจากผ้าเช็ดตัวอุ่นๆ หลังจากการอาบน้ำ แต่ไม่ช้านัก รอยยิ้มก็จะเกิดจากการควบคุมได้มากขึ้น และมักจะเกิดขึ้นเวลาลูกน้อยได้อยู่รอบๆ คนที่รัก

สิ่งที่ควรทำ ให้กำลังใจลูกน้อยโดยตอบโต้แบบดีๆ กับลูกในการยิ้มครั้งแรก โดยการหัวเราะ และ ยิ้มกลับให้เธอ บอกให้เธอรู้ว่าเธอนั้นดีและน่ารักเพียงใด เธออาจจะไม่เข้าใจคำพูดแต่ก็รับรู้ได้ถึงข้อความ
เราเป็นต้นฉบับที่แท้จริงของลูกๆ เรา ช่วงระหว่างประมาณ 3-6 เดือน เด็กๆ จะเรียนรู้ที่จะทำหน้าตาเลียนแบบเพื่อแสดงออกถึง ความกลัว ความประหลาดใจ ความเสียใจ และเมื่ออายุประมาณ 9 เดือน เด็กๆ จะเรียนรู้สถานการ์ณใหม่ๆ เช่น การพบเจอกับคนแปลกหน้า แล้วเธอจะกลับมามองหน้าแม่ของเธออีกครั้ง ถ้าหากลูกน้อยเห็นว่าหน้าแม่ของเธอก็เครียดอยู่นั้น ความกังวลใจของเธอจะเพิ่มขึ้น และอาจจะปีนหนีหรือร้องไห้ได้ 

สิ่งที่ควรทำ จำไว้ว่าถ้าคุณรู้สึกเครียด ลูกของคุณก็จะรู้สึกเช่นนั้นเช่นกัน ในกรณีที่เกิดการกังวลใจ ให้หายใจเข้าออกลึกๆ ค่อยๆผ่อนคลายสีหน้า เพื่อจะลดอาการตึงเครียด หรือแม้แต่การยิ้ม ก็ช่วยให้คุณใจเย็นขึ้นมาได้ จากนั้นตามด้วยการกอดเบาๆ หรือ ตบเบาๆที่ตัวลูกน้อย เพื่อให้เธอรู้ว่าทุกอย่างโอเคดี แต่ถ้าคุณเกิดต้องอยู่ในสถานการ์ณที่คุณโกรธเอามากๆละก็ ควรจะฝากลูกน้อยไว้กับใครซักคนจะดีกว่า หรือถ้าคุณอยู่คนเดียว ก็วางตัวลูกน้อยไว้ในเปลจนกว่าคุณจะรู้สึกดีขึ้น
การวิจัยบอกไว้ว่า ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของการสื่อสารระหว่างเด็กและผู้ใหญ่นั้นไม่มีเสียง หรือเกิดจากการสื่อสารทางร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น เด็กๆหลายๆ คนจะทำมือเป็นกำปั้นเวลาที่พวกเขาหิว หลังจากที่พวกเขาอิ่ม มือของพวกเขาก็จะคลายออก


11 สัญญาณที่พ่อแม่ต้องรู้ว่าทารกกำลังสื่อสารอะไร

ท่าทางนี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่พวกเขาเกิดไม่กี่อาทิตย์ ลูกน้อยจะเริ่มโค้งตัวเวลาที่รู้สึกไม่สบายตัว และถ้าเกิดพวกเขาโค้งตัวโค้งหลังและร้องไห้ไปด้วย อาจจะแปลได้ว่าพวกเขามีอาการกรดไหลย้อนได้ พวกเขาจะขยับตัวไปมาจนได้อยู่ในท่าที่สบายตัว และบ่อยครั้งที่พวกเขาโค้งหลังเพราะอิ่มและอยากจะออกจากการให้นมจากเต้า (แต่ถ้าอายุถึงประมาณ 4-5 เดือน ท่าทางเหล่านี้จะแปลได้เป็นอย่างอื่นโดยสิ้นเชิง คือพวกเขาพยายามที่จะกลิ้งตัวขึ้นเป็นครั้งแรก)

สิ่งที่ควรทำ ลูกของคุณอาจจะแค่ต้องการเปลี่ยนที่เปลี่ยนทิศทาง (เพราะพวกเขาอาจจะเปลี่ยนทิศทางด้วยตัวเองลำพังยังไม่ค่อยได้) ถ้าเขาอยู่ในรถเข็น หรือ เบาะเก้าอี้เด็กในรถ ให้อุ้มเขาออกมาชั่วคราว อุ้มให้ลูกตัวตรงพาดไว้ตรงไหล่ของคุณ หรือให้พวกเขาอยู่เล่นบนพื้นซักนาทีสองนาทีก็ได้
พวกเขาจะเริ่มขยี้ตาหรือหูตัวเองเวลาเริ่มรู้สึกเหนื่อย ก่อนที่พวกเขาจะอายุได้ 6 เดือน พวกเขาจะขยี้หน้าตัวเองกับบางสิ่ง เวลาที่พวกเขาเหนื่อยหรือคัน หลังจากนั้นพวกเขาจะค้นพบหูของพวกเขา แล้วได้ความสบายจากการถูหรือดึงหูตัวเอง หูเป็นส่วนที่อ่อนโยนของร่างกาย และเด็กๆก็ชอบที่จะรู้สึกแบบนั้น 

สิ่งที่ควรทำ ให้ลูกน้อยนอน หรือ นอนกลางวัน ทันทีที่ลูกของคุณถูหรือขยี้หูหรือหน้าตัวเอง แต่มีข้อระวังอย่างนึง ถ้าลูกของคุณถูหู แล้วมีไข้อยู่ อาจะเป็นไปได้ว่าลูกของคุณติดเชื้อที่หู คุณควรจะพาลูกเข้าพบแพทย์
มันคืออาการของการเอาตัวรอด การที่จะช่วยให้เด็กๆ หาอาหาร หากมีบางสิ่งมาสัมผัสที่ข้างแก้มของลูก ลูกจะค่อยๆ หันหน้าและขยับปากไปหาสิ่งที่สัมผัส ปฎิกิริยานี้จะหายไปหลังจากสองสามอาทิตย์แรก แต่ลูกน้อยก็ยังจะหันมาหาคุณเพื่อเตรียมจะทานนม มันเป็นสัญญาณให้คุณรู้ว่าพวกเขาหิว 

สิ่งที่ควรทำ เมื่อคุณจะป้อนนมให้ใช้หัวนมเขี่ยที่ข้างแก้มลูก แล้วลูกของคุณจะค่อยๆ หันหน้าไปหาหัวนมและดื่มนมได้
เสียงดังๆ แสงจ้าๆ อาจกระตุ้นให้เกิดอาการตกใจผวาของลูกน้อยได้ ลูกน้อยจะเกิดอาการกางแขนขาแล้วรีบหุบแล้วก็เริ่มร้องไห้ อาการตกใจผวาของเด็กน้อยนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด แต่จะค่อยๆ หายไปเมื่ออายุประมาณ 3-6 เดือน

สิ่งที่ควรทำ จริงอยู่ที่อาการตกใจนั้นไม่ได้ทำให้เด็กๆเจ็บ แต่ก็อาจจะทำให้พวกเขากลัวและร้องไห้เสียงดังได้ ให้เราพยายามเลียนแบบความอบอุ่นให้พวกเขาเหมือนตอนที่พวกเขาอยู่ในท้องแม่ ให้ห่อตัวพวกเขาด้วยผ้าห่มแบบเบา เทคนิคนี้ใช้ดีที่สุดสำหรับเด็กอ่อน ถ้าถึงอายุประมาณ 4 เดือน เด็กๆสามารถขยับตัวออกจากผ้าห่มที่ห่อพวกเขาไว้ได้ ให้ลองค้นหาวิธีการห่อผ้าให้ลูกตัวน้อยอย่างถูกวิธี

11 สัญญาณที่พ่อแม่ต้องรู้ว่าทารกกำลังสื่อสารอะไร

ร้องไห้คือทางที่เร็วที่สุดที่ลูกน้อยของคุณจะบอกว่าคุณว่า เขาเหนื่อย หิว หรือเจ็บปวด แต่ร้องไห้แบบไหนคืออาการแบบไหนกันล่ะ? ตอนแรกเกิด เสียงร้องไห้ของเด็กทารกจะเหมือนกันหมด เด็กที่เกิดใหม่จะร้องไห้เวลาหายใจเข้าออก พวกเขาควบคุมไม่ค่อยได้ แต่หลังจากอายุครบเดือน เราจะเริ่มได้ยินเสียงร้องไห้ที่แตกต่างกันออกไป คุณจะเริ่มรู้ว่าพวกเขาร้องไห้เพราะอะไร
ส่วนใหญ่แล้วเด็กจะตื่นขึ้นมาพร้อมกับร้องไห้หาอาหาร มันจะเป็นการร้องไห้ที่สั้นๆ และเสียงโทนต่ำ จะยาวแค่ประมาณวินาที ถ้าคุณไม่ได้ตอบโต้อย่างรวดเร็ว เสียงร้องก็จะดังขึ้นและแรงขึ้น สิ่งที่ควรทำ ให้การตอบรับกับลูกน้อยของคุณโดยเร็ว โดยเฉพาะช่วงเดือนแรกๆของชีวิตพวกเขา แต่คุณต้องไม่เอาใจพวกเขาเกินไปโดยการให้อาหารพวกเขาในทันที เพราะมันจะทำให้ลูกน้อยของคุณฝังใจว่าคุณจะต้องอยู่ดูแลพวกเขาในทันทีตลอดไป
การร้องไห้เพราะความเจ็บปวดมักจะมาโดยไม่คาดคิดเมื่อเทียบกับการร้องไห้เพราะหิว การร้องจะยาวนานเป็นสองเท่า และ ร้องติดต่อกัน แต่เสียงร้องจะไม่ดังเพิ่ม จะอยู่ในโทนเดียว สิ่งที่ควรทำ ค่อยๆเช็คสิ่งที่อยู่รอบตัวทีละอัน เช่น ผ้าอ้อมเต็มไปด้วยปัสสาวะหรือเปล่า? หรือพวกเขาร้อนหรือหนาวเกินไป? อย่างเช่น การที่เด็กตื่นขึ้นมาจากการนั่งเบาะในรถ เพราะร้อนเกินไป ตรวจสอบดูลูกน้อยของคุณตั้งแต่ศรีษะยันปลายเท้า บางครั้งเศษผ้าหรือผ้าอ้อมอาจจะทำให้เธอระคายเคืองก็ได้
ระหว่างอายุ 2-3 เดือน การร้องไห้ของลูกน้อยจะมีหลายแบบมากขึ้น และเกิดการร้องแบบเสียงแหบ หรือ การร้องแบบเหนื่อย มันอาจจะเป็นการร้องแบบเบากว่าเวลาร้องเพราะเครียด (แต่อย่าลืมใช้ common sense ด้วย ถ้าลูกของคุณตื่นมาเป็นเวลานาน คุณอาจจะได้ยินเสียงร้องเพราะเขาง่วงนอนก็ได้

สิ่งที่ควรทำ ลองแกว่งลูกของคุณไปมา ย่อเท้าของคุณลง ลูบหัวหรืออกเขาเบาๆพร้อมกับร้องเพลง คุณจะเจอวิธีที่ดีที่สุดในการทำให้ลูกของคุณหยุดร้องไห้ได้
เด็กทารก “พูด” ในระหว่างอายุประมาณ 2-3 เดือน พวกเขาเริ่มที่จะเทียบเสียงแบบต่างๆ กับเสียงของพ่อกับแม่ และเมื่ออายุประมาณ 4-6 เดือน พวกเขาก็เริ่มทดลองมากขึ้นกับเสียงของพวกเขา เช่นการทำเสียงอ้อแอ้ การใช้พยัญชนะและสระร่วมกัน เสียงของพวกเขาสามารถบ่งบอกอารมณ์ได้หลายอย่าง มีความสุข โกรธ รำคาญ เถียง หรือ พอใจ 

สิ่งที่ควรทำ บรรยายลักษณะของกิจกรรมที่คุณทำกับลูกน้อยในระหว่างที่ทำไปด้วย เช่น ตอนนี้แม่กำลังจะอาบน้ำให้ลูกนะ ดูนั่นสิ ผีเสื้อสวยจัง แล้วก็พักให้มีช่วงว่างให้ลูกน้อยพูดอ้อแอ้ตอบกลับกับคุณ ผลักดันให้พวกเค้าจำลองเสียงที่เขาทำ แล้วก็สนุกไปกับพวกเขาด้วย

เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์