วิธีจัดการกับอารมณ์เด็ก

วิธีจัดการกับอารมณ์เด็ก

พญ.สินดี จำเริญนุสิต กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวถึงกรณีนี้ว่า การแสดงออกเช่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการของเด็กวัยนี้ที่พ่อแม่ต้องเข้าใจ เด็กจะเริ่มแสดงความเป็นตัวของตัวเอง อยากรู้อยากเห็นในสิ่งแวดล้อมซึ่งแปลกใหม่บนโลกใบนี้ เด็กมีความต้องการที่จะควบคุมทุกอย่าง ต้องการเป็นอิสระและพยายามที่จะทำอะไรที่เกินความสามารถของตนเอง ต้องการจะตัดสินใจเองและไม่อาจจะควบคุมตัวเองได้ดีพอ ยิ่งถ้าเขาเหนื่อย หิว หงุดหงิดหรือกลัวด้วยแล้ว เขาก็ยังไม่สามารถที่จะจัดการตัวเองได้

ดังนั้น การเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ตัวเองเป็นเรื่องยากสำหรับเขา การร้องอาละวาด จึงเป็นหนทางในการปลดปล่อยอารมณ์ของเด็ก ข่าวดีก็คือ อาการร้องอาละวาดมักหยุดไปเองหลังอายุ 4 ปี พญ.สินดี จำเริญนุสิต กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวถึงกรณีนี้ว่า การแสดงออกเช่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการของเด็กวัยนี้ที่พ่อแม่ต้องเข้าใจ เด็กจะเริ่มแสดงความเป็นตัวของตัวเอง อยากรู้อยากเห็นในสิ่งแวดล้อมซึ่งแปลกใหม่บนโลกใบนี้ เด็กมีความต้องการที่จะควบคุมทุกอย่าง ต้องการเป็นอิสระและพยายามที่จะทำอะไรที่เกินความสามารถของตนเอง ต้องการจะตัดสินใจเองและไม่อาจจะควบคุมตัวเองได้ดีพอ ยิ่งถ้าเขาเหนื่อย หิว หงุดหงิดหรือกลัวด้วยแล้ว เขาก็ยังไม่สามารถที่จะจัดการตัวเองได้

ดังนั้น การเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ตัวเองเป็นเรื่องยากสำหรับเขา การร้องอาละวาด จึงเป็นหนทางในการปลดปล่อยอารมณ์ของเด็ก ข่าวดีก็คือ อาการร้องอาละวาดมักหยุดไปเองหลังอายุ 4 ปี
พ่อแม่อาจจะไม่สามารถป้องกันการร้องอาละวาดได้ทุกครั้ง แต่สามารถลดโอกาสที่จะเกิดได้
พยายามกระตุ้นให้เด็กพูด บอกความรู้สึก เช่น "หนูทนไม่ไหวแล้วนะ" เข้าใจความรู้สึกของเขาและแนะนำว่าควรพูดยังไง ตั้งกฎที่เหมาะสมในบ้านและอย่าไปคาดหวังว่าเด็กต้องทำได้สมบูรณ์ ให้เหตุผลง่ายๆว่าทำไมต้องมีกฎและพยายามอย่าไปเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ

พยายามทำกิจวัตรประจำวันให้เหมือนเดิมทุกวันเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้เด็กคาดเดาต่อไปได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น

หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจกระตุ้นให้เด็กเกิดร้องอาละวาด เช่น การเล่นของเล่นที่ยากกว่าวัย
หลีกเลี่ยงการไปนอกสถานที่ที่กินเวลานานๆและต้องอยู่อย่างเป็นระเบียบ ถ้าต้องเดินทางไปไหนก็ให้พกหนังสือเล่มโปรดหรือของเล่นที่ชอบ เตรียมของว่างที่มีประโยชน์เผื่อเวลาลูกหิวและแน่ใจว่าลูกได้พักผ่อนเต็มที่แล้ว ก่อนออกเดินทาง

เบี่ยงเบนความสนใจของเด็กจากกิจกรรมที่อาจนำไปสู่การร้องอาละวาด แนะนำกิจกรรมที่ต่างออกไป ถ้าเป็นไปได้พ่อแม่อาจต้องทำอะไรขบขันเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายขึ้น บางครั้งแค่เปลี่ยนสถานที่ก็ได้

พยายามเลือกใช้คำอื่นแทนคำว่า "ไม่,อย่า" เพราะถ้าใช้บ่อยๆ เด็กก็จะหงุดหงิดได้ง่าย
เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกเองบ้าง

เป็นตัวอย่างที่ดีในการจัดการกับอารมณ์


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์