โรคดื้อรั้นเกิน 3 ขวบไม่หายพบจิตแพทย์

โรคดื้อรั้นเกิน 3 ขวบไม่หายพบจิตแพทย์


โรคพฤติกรรมดื้อต่อต้าน (Oppositional Defiant Disorder) ซึ่งเด็กจะมีความผิดปกติทางด้านพฤติกรรม มีนิสัยดื้อต่อต้านไม่ฟังพ่อแม่ ไม่ทำตามกฎระเบียบ อารมณ์รุนแรง หงุดหงิดง่ายในระดับที่มากเกินกว่าเด็กทั่วไป

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น ว่า

ขณะนี้การเข้าถึงบริการของเด็กที่เป็นโรคจิตเวช โดยเฉพาะโรคสมาธิสั้น และโรคออทิสติกดีขึ้นเรื่อยๆ แต่กลับพบโรคจิตเวชอื่นๆ โดยเฉพาะโรคพฤติกรรมดื้อต่อต้าน (Oppositional Defiant Disorder) ซึ่งเด็กจะมีความผิดปกติทางด้านพฤติกรรม มีนิสัยดื้อต่อต้านไม่ฟังพ่อแม่ ไม่ทำตามกฎระเบียบ อารมณ์รุนแรง หงุดหงิดง่ายในระดับที่มากเกินกว่าเด็กทั่วไป ผลสำรวจของกรมสุขภาพจิตในกลุ่มเด็กอายุ 13-17 ปี ครั้งล่าสุดในปี 2559 พบเด็กป่วยเป็นโรคดื้อต่อต้านร้อยละ 2 หรือมีประมาณ 80,000 คนทั่วประเทศ ในเด็กชายพบร้อยละ 2.3 เด็กหญิงร้อยละ 1.7 โรคนี้เกิดมาจากหลายสาเหตุร่วมกันทั้งตัวเด็กเองที่มีพื้นฐานเป็นเด็กอารมณ์ร้อน และสภาพแวดล้อม เช่น ความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ดี ใช้ความรุนแรง การตั้งกฎระเบียบที่ไม่สม่ำเสมอของพ่อแม่ที่น่าเป็นห่วงพบว่ายังมีพ่อแม่มีความเชื่อผิดๆ คิดว่าเด็กดื้อตามปกติ จึงไม่ได้พาไปรักษา

 พญ.กุสุมาวดี คำเกลี้ยง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น กล่าวว่า

จากผลวิเคราะห์เด็กที่เข้ารับบริการ พบว่าเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม เช่น โรคดื้อ เข้ารับการรักษามีประมาณร้อยละ 2 ของผู้ป่วยนอกทั้งหมดที่มีเฉลี่ยวันละ 30-40 คน สำหรับพฤติกรรมดื้อตามวัยนั้น พบได้ในเด็กปกติช่วงอายุ 2-3 ปี เมื่ออายุมากขึ้นอาการดื้อจะหายไป แต่ในโรคดื้อนี้จะมีการแสดงออกรุนแรงมากขึ้นอารมณ์ไม่ดีต่อเนื่องนานกว่า 6 เดือนขึ้นไป ลักษณะอาการเด่นของเด็กที่เป็นโรคดื้อมี 8 อาการ ได้แก่ 1.แสดงอารมณ์ฉุนเฉียวตลอดเวลา 2.เถียงหรือชวนผู้ใหญ่ทะเลาะ 3.ท้าทายและฝ่าฝืนคำสั่งและกฎเกณฑ์บ่อยๆ 4.ตั้งใจทำให้คนอื่นรำคาญ 5.โทษหรือโยนความผิดให้คนอื่นบ่อยๆ 6.หงุดหงิดและอารมณ์เสียง่าย 7.โกรธและไม่พอใจบ่อยๆ 8.เจ้าคิดเจ้าแค้นอาฆาตพยาบาท หากผู้ปกครองพบว่าลูกมีอาการที่กล่าวมา ขอให้พาไปพบจิตแพทย์เด็กเพื่อบำบัดพฤติกรรม ซึ่งต้องใช้ร่วมกันหลายวิธี ได้แก่ การทำจิตบำบัด ฝึกให้เด็กควบคุมตัวเอง ฝึกให้มีการแสดงออกที่เหมาะสมกับผู้ใหญ่ควบคู่กับการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ครอบครัวหรือที่เรียกว่าครอบครัวบำบัด เพื่อลดความขัดแย้ง

 เพิ่มการสื่อสารที่เหมาะสมในครอบครัว ฝึกพ่อแม่ให้ปรับพฤติกรรมเด็กอย่างเหมาะสมถูกต้อง รวมทั้งร่วมมือกับครูที่โรงเรียนในการดูแลและช่วยปรับลดพฤติกรรมที่ไม่ดีระหว่างที่เด็กอยู่ในโรงเรียนด้วย

Cr:::matichon.co.th

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์