ให้ลูกกินอาหารมังสวิรัติ จะมีผลเสียต่อเด็กไหม?

ให้ลูกกินอาหารมังสวิรัติ จะมีผลเสียต่อเด็กไหม?

จริง ๆ แล้วในช่วงทารกแรกเกิดจนถึง 5 เดือน ทารกทุกคนได้กินอาหารมังสวิรัติอยู่แล้ว เพราะในช่วงนี้ทารกจะรับประทานแต่นมแม่หรือนมผสม ซึ่งทารกจะมีธาตุเหล็กเพียงพอสำหรับร่างกายประมาณ 6 เดือนแรก แต่หลังจากนั้นทารกจำเป็นต้องได้รับสารอาหารอื่น ๆ ที่ต้องกินควบคู่ไปกับนมแม่ด้วย เช่น การให้ทานเนื้อสัตว์ต่าง ๆ และเนื้อปลา ที่เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี และให้สารอาหารหลายชนิดที่ไม่ค่อยพบในพืชผัก อย่าง ไอโอดีน ทอรีน วิตามินบี-12 วิตามินดี กรดไขมัน ดี เอช เอ เพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดีของลูก

ให้ลูกกินอาหารมังสวิรัติ จะมีผลเสียต่อเด็กไหม?

ส่วนอาหารจากพืชจะมีสารบางอย่างที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก สังกะสี และแคลเซียม การให้ลูกกินอาหารมังสวิรัติตั้งแต่ในวัยเด็ก อาจจะมีความเสี่ยง อาทิ

น้ำหนักแรกเกิด คุณแม่ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นประจำจะส่งผลให้ทารกมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยน้อยกว่าแม่ที่รับประทานอาหารปกติ รวมถึงภาวะการคลอดก่อนกำหนด นอกจากทารกจะมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำแล้ว เส้นรอบศีรษะและความยาวของตัวเด็กที่แม่รับประทานอาหารมังสวิรัติก็น้อยกว่าด้วย
การเจริญเติบโต สำหรับเด็กที่กินอาหารมังสวิรัติอย่างเคร่งครัดในช่วง 5 ขวบแรก จะมีการเจริญเติบโตช้ากว่าเด็กที่รับประทานอาหารปกติ
ภาวะโรคโลหิตจาง ซึ่งเกิดได้จากการขาดธาตุเหล็ก ขาดวิตามินบี-12
ปัญหาโรคขาโก่งในเด็ก ที่เกิดจากการวิตามินดี สำหรับในเด็กที่กินอาหารมังสวิรัติอาจจะได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ
ความสำคัญต่อระบบสมองของลูกน้อย ซึ่งจะได้รับจาก ดี เอซ เอ ที่มีมากในเนื้อสัตว์และปลา และมีน้อยในไข่และนม
แต่การรับประทานอาหารมังสวิรัตินั้นก็ช่วยส่งผลดีต่อลูกได้ เช่น ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจหรือโรคเบาหวาน ได้ฝึกให้ลูกมีนิสัยการกินที่ดีไม่ตามใจปาก มีน้ำหนักที่ไม่เยอะเกิน เป็นต้น

ดังนั้นก่อนที่คุณแม่ตัดสินใจจะให้ลูกได้รับประทานอาหารมังสวิรัติในช่วงวัยเด็ก ควรคำนึงถึงผลดีผลเสีย สุขภาพและความเสี่ยงอื่น ๆ ที่จะตามมาของลูกด้วย แต่ถ้าคุณแม่มีความพร้อมที่จะให้ลูกได้กินอาหารมังสวิรัติ ทางสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แนะนำว่าควรให้เด็กดื่มนมและกินไข่ร่วมด้วยทุกวัน และกินอาหารให้ครบวันละ 3 มื้อ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารในปริมาณที่เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย และป้องกันการเกิดปัญหาการขาดสารอาหาร ซึ่งมีมากกว่าในช่วงอายุอื่นและในภาวะปกติทั่วไป.

ที่มา : www.healthcarethai.com , www.doctor.or.th


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์